สะตอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Parkia speciosa) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีกิ่งก้านที่มีขนละเอียดใบประกอบแบบขนนกสองชั้น จะออกช่อที่ปลายของกิ่งตามตำราแพทย์แผนไทย จะใช้เมล็ด ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ ไตพิการ
สะตอ มีเมล็ดที่มีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรง แต่นิยมนำมารับประทานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทยปักษ์ใต้
หลังจากรับประทานสะตอเข้าไปจะมีกลิ่น สามารถดับกลิ่นสะตอ ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามสักสองสามลูก
สะตอ เป็นพืชผักยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของประเทศไทย ปัจจุบันสะตอจัดเป็นพืชผักเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญ เพราะมีผู้นิยมบริโภคทั่วไป สะตอเป็นพืชผักที่มีรสชาติดี สามารถนำมารับประทานสด และปรุง อาหารได้หลายชนิด มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย คือช่วยลดความดันโลหิตและช่วยลดน้ำตาล ในเลือด
ผลผลิตของสะตอในอดีตได้จากการเก็บจากป่าและเกษตรกรปลูกแซมกับพืชหลักชนิดอื่น ๆ แต่ในปัจจุบันมีผู้นิยมรับประทานสะตอกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการบริโภคสะตอมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้มีผู้สนใจปลูกสะตอกันอย่างแพร่หลายเกือบทุกภาคของประเทศ
สภาพดินฟ้าอากาศ
สะตอชอบที่ที่มีความชื้นสูง ดินควรเป็นดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์สูง ดินค่อนข้างเป็นกรด คือ pH 5.2-6.5 ระบายน้ำได้ดีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี สามารถขึ้นได้ดีในที่สูงถึง 2,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80 เปอร์เซนต์
พันธุ์
พันธุ์ สะตอมี 2 ชนิด คือ
- สะตอข้าว ลักษณะฝักเป็นเกลียว ยาวประมาณ 31 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-20 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นไม่ฉุนเนื้อเมล็ดไม่ค่อยแน่น อายุการให้ผลผลิต 3-5 ปี หลังปลูก
- สะตอดาน ฝักมีลักษณะตรงแบนไม่บิดเบี้ยว ยาวประมาณ 32 ซม. ความกว้างกว้างกว่าสะตอข้าวเล็กน้อย มีเมล็ดต่อฝักประมาณ 10-20 เมล็ด จำนวนฝักต่อช่อประมาณ 8-15 ฝัก เมล็ดมีกลิ่นฉุนรสเผ็ด เนื้อเมล็ดแน่น อายุการเก็บเกี่ยว 5-7 ปี
ที่มาบางส่วน : วิกิพีเดีย, เรื่องของสะตอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น